วันที่ 7 – 8 มิถุนายน 2565 คณะสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น งานสนับสนุนวิชาการและพัฒนานักศึกษา ได้จัดโครงการ SMART Classroom การจัดการเรียนการสอนตามกระบวนทัศน์ใหม่
ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ NK 2314 อาคารเรียนรวมและปฏิบัติการ 1 ชั้น 3 กล่าวรายงานวัตถุประสงค์โครงการโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ภัทรียา ลาสุนนท์ รองคณบดีคณะสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่นและได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เกียรติ แสงอรุณ คณบดีคณะสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นประธานเปิดงานในครั้งนี้
ในปัจจุบันความเป็น Digital ได้แทรกซึมไปในทุกภาคส่วนจนทำให้เกิดคำพูดที่คุ้นหูที่สะท้อนความเกี่ยวพันแบบแนบแน่นได้แก่ Digital Education ซึ่งความเป็นดิจิทัลได้เข้าสู่แม้กระทั่งในกระบวนการการศึกษา ที่จะต้องมีทั้ง “ผู้เรียน” ที่เป็น “Digital Student” ที่จะเติบโตเป็น “Digital Citizen” ซึ่งต้องอาศัย “ครู” (Teacher) ที่ต้องเป็น “Digital Teacher”และต้องเป็น “SMART Teacher” (ครูอัจฉริยะ) พร้อมนี้ มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้จัดทำแผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ และผลลัพธ์ตามวัตถุประสงค์ (OKR: Objective and Key Result) โดยมีประเด็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญคือ ปรับเปลี่ยนการจัดการศึกษาบุคคล ดัวยให้มีการพัฒนาหลักสูตรที่มีการจัดการเรียนการสอนตามกระบวนทัศน์ใหม่ (Learning Paradigm Curriculum) ซึ่งหมายถึง หลักสูตรที่มีกระบวนการในการปรับเปลี่ยนจากหลักสูตรเดิมที่เน้นการสอน (Teaching Paradigm Curriculum) มาเป็นหลักสูตรใหม่การเน้นการเรียนรู้ (Learning Paradigm Curriculum)
วันที่ 7 มิถุนายน 2565 บรรยายเรื่อง“การออกแบบและพัฒนาบทเรียนออนไลน์อย่างมืออาชีพ”
โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อนุชา โสมาบุตร ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยขอนแก่น
การอบรมเชิงปฏิบัติการ “การสร้างและการเผยแพร่ E-book”
โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อนุชา โสมาบุตร ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยขอนแก่น
และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงษ์พิทยา สัพโส อาจารย์คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
วันที่ 8 มิถุนายน 2565 บรรยายเรื่อง “เครื่องมือนวัตกรรมสนับสนุนการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์ มข.”
โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อนุชา โสมาบุตร ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยขอนแก่น
การอบรมเชิงปฏิบัติการ “การสร้างบทเรียนออนไลน์ผ่าน platform”
การอบรมเชิงปฏิบัติการ “การผลิตบทเรียนและสื่อดิจิตอล”
สรุปแนวทางการนำไปใช้ และถาม-ตอบ ข้อเสนอแนะ
โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อนุชา โสมาบุตร ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยขอนแก่น
และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงษ์พิทยา สัพโส อาจารย์คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ดังนั้น ทางฝ่ายการศึกษาของคณะสหวิทยาการ ได้รับผิดชอบในการขับเคลื่อนการพัฒนาหลักสูตรเดิมสู่กระบวนทัศน์ใหม่ ส่งเสริมการเรียนรู้แบบใหม่ (Flipped classroom) เน้นการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง (Experimental learning) จึงได้จัดโครงการ โครงการ SMART Classroom การจัดการเรียนการสอนตามกระบวนทัศน์ใหม่ เพื่อพัฒนาอาจารย์เพื่อตอบการเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบันและสอดคล้องการนโยบายของทางมหาวิทยาลัยและคณะ และการจัดอบรมครั้งได้มี หัวหน้าสาขาวิชา ประธานหลักสูตร คณาจารย์ คณะสหวิทยาการ เข้าร่วมกว่า 40 คน
ภาพ / ข่าว : อนิรุต สุทธินันท์